Monday, February 19, 2007

Imagery (มโนภาพ)

Imagery (มโนภาพ)

ในทุกๆประสบการณ์ เราได้เรียนรู้และสนุกกับมันด้วยประสาทสัมผัสทั้ง5 ตาได้เห็นสีกับการเคลื่อนไหว หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส และผิวได้สัมผัส

เหมือนในบทกลอน ที่ผู้แต่งเลียนแบบประสบการณ์ เหล่านี้โดยใช้คำเป็นตัวแทนความรู้สึก ซึ่งเราเรียกมันว่า “มโนภาพ” เพราะฉะนั้นจึงนิยามได้ว่า มโนภาพเป็นตัวแทนของการใช้ประสามสัมผัสผ่านภา และมักจะเป็นการรับรู้ผ่านหนึ่งในประสาทสัมผัส แต่อย่างไรก็ตาม มโนภาพที่เป็นการมองเห็นจะเป็นที่นิยมในการใช้แต่งกลอนมากที่สุด

เช่น
The Sun does arise ,
And make happy the skies;
The merry bell ring

หรือ
All were silent
The guest , the host
And the white chrysanthemum.

Friday, February 16, 2007

Personification (บุคลาธิษฐาน)

Personification (บุคลาธิษฐาน)

เป็นการใช้ภาษาเพื่อนำเสนอ สัตว์ สิ่งของ หรือความคิดในรูปการกระทำที่เหมือนมนุษย์ (ความคิด ปัญญา
กริยา อารมณ์ความรู้สึก ฯลฯ) บุคลาธิษฐานเป็นส่วนๆหนึ่งของคำอุปมาอุปไมย1 ( Metaphor)

เช่น

The fields breath sweet ,
The daisies kiss our feet ,

:: ในบทกลอนนี้ ทุ่งหญ้าและดอกเดซี่แสดงอาการแบบมนุษย์ที่หายใจหรือจูบ แต่ความหมายที่ผู้แต่งต้องการจะสื่อคือ ในฤดูใบไม้ผลิ ทุ่งหญ้าจะมีกลิ่นที่สดใส และดอกเดซี่ก็จะบานมากมายจนสัมผัสกับเท้าเวลาเราเดินผ่าน

Monday, February 12, 2007

Figurative Language (ภาษาที่เป็นรูปเป็นร่าง)

Figurative Language (ภาษาที่เป็นรูปเป็นร่าง)

คือการพูดอะไรบางอย่างที่นอกเหนือจากความหมายธรรมดาของคำ เป็นภาษาที่เราไม่ได้หมายความตามตัวอักษร โดยภาษาที่เป็นรุปเป้นร่างนี้ เราสามารถสื่ออะไรที่ชัดเจนและมีพลังมากขึ้นจากเดิม เป้นเพราะภาษาที่เป็นรูปเป็นร่างนี้อธิบายความเข้าใจหรือความรู้สึกที่เป็นทิศทางให้ไปสู่ความรู้สึกที่กลอนต้องการจะสื่อ

เช่น

personification (บุคลาธิษฐาน) :: The wind went begging at each door

metaphor (อุปมาอุปไมย 1) :: All the word is a stage

simile (อุปมาอุปไมย 2) :: My love like a red,red rose

Monday, February 5, 2007

Metaphor (คำอุปมาแบบที่1)

Metaphor (คำอุปมาแบบที่1)

คือการเปรียบเทียบโดยนัยยะระหว่างสิ่งสิงสิ่งที่ปกติจะไม่มีความเกี่ยวข้องกัน แต่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน คำอุปมาชนิดนี้จะไม่ใช่คำว่า’เหมือน’หรือ’ดั่ง’เพื่อแสดงการเปรียบเทียบ

เช่น

All the world is a stage (โลกนี้คือละครเวที)

:: ความหมายคือ โลกนี้มีผู้คนมากมายอาศัยอยู่ มีเรื่องราวต่างๆเกิดขึ้นมากมายเหมือนละคร โลกจึงเปรียบเสมือนเวที แต่ในความเป็นจริง โลกกับเวทีไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกันเลย

Simile (คำอุปมาแบบที่2)

Simile (คำอุปมาแบบที่2)

คือการเปรียบเทียบสิ่งสองสิ่งที่มีความคล้ายคลึงกันอย่างชัดเจน คำอุปมาชนิดนี้จะใช้’เหมือน’หรือ’ดั่ง’
ในการเปรียบเทียบ

เช่น

My love like a red red rose (ความรักของฉันเหมือนกับดอกกุหลาบสีแดง)

Rhyme (สัมผัสเสียง)

Rhyme (สัมผัสเสียง)

คือความคล้องจองของเสียงในแต่ละพยางค์ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากเสียงสระที่ตามหลังในแต่ละพยางค์

เช่น

star – are
high – sky
raw - jaw

รูปแบบของสัมผัสเสียง คือจะสัมผัสกันที่ท้ายบรรทัดในแต่ละวรรค ถ้ากำหนดให้เสียงที่เหมือนกันเป็นตัวอักษรเดียวกัน เราก็จะสามารถเขียนแผนผังการสัมผัสเสียงได้ดังนี้

1
Twinkle , twinkle little star =a
How. I wonder what you are =a
Up above the world so high =b
Like a diamond in the sky =b

แผนผังการสัมผัสเสียง = a a b b

2
The way a crow =a
Shook down on me =b
The dust of snow =a
From a hemlock tree =b

แผนผังการสัมผัสเสียง = a b a b

3
The sun now rose upon the right: =x
Out of the sea came he, =a
Still hid in midst , and on the left =x
Went down into the sea =a
แผนผังการสัมผัสเสียง = x a x a